วันเสาร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

6. โครงการสะพานพระราม 8 “โครงการสะพานพระราม 8” เป็นหนึ่งในโครงการแก้ไขปัญหาจราจรตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราชพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงตระหนักถึงปัญหาการจราจรแออัดบนสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า ซึ่งทำให้เกิดการคับคั่งของจราจรบริเวณพื้นที่ฝั่งตะวันออก โดยเฉพาะกรุงเทพมหานครชั้นในบริเวณถนนราชดำเนินกลาง ซึ่งเชื่อมต่อกับฝั่งธนบุรีผ่านทางสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า และเข้าบรรจบกับถนนจรัญสนิทวงศ์ เพื่อคลี่คลายปัญหาพื้นผิวการจราจรไม่เพียงพอและปรับปรุงการไหลเวียนของการจราจรในบริเวณนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้ทรงมีพระราชดำริให้ก่อสร้างทางคู่ขนานลอยฟ้าถนนบรมราชชนนีจากถนนอรุณอมรินทร์ถึงตลิ่งชัน เมื่อประมาณกลางปี ๒๕๓๘ เพื่อบรรเทาปัญหาการจราจรในบริเวณเชิงสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้าและถนนบรมราชชนนีเป็นทางยกระดับขนาด ๔ ช่องจราจร ซึ่งขณะนี้ได้ดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดใช้แล้วและเพื่อรองรับปริมาณการจราจรที่เพิ่มขึ้นจากการเปิดใช้เส้นทางคู่ขนานลอยฟ้าถนนบรมราชชนนีรวมทั้งเพิ่มจุดเชื่อมโยงกรุงเทพมหานครฝั่งพระนครและธนบุรี จึงทรงมีพระราชดำริผ่านมายังปลัดกรุงเทพมหานครให้พิจารณาก่อสร้างสะพานเป็นเส้นทางข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา เพิ่มขึ้นอีก ๑ แห่ง ซึ่ง กรุงเทพมหานครเห็นว่าโครงการพระราชดำริ มีความเป็นไปได้สูง สามารถแก้ไขปัญหาการจราจรได้ดีกว่าการขยายสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้าโดยจะใช้ซอยต่างๆบริเวณถนนจรัญสนิทวงศ์เป็นเส้นทางรับรถที่จะมาใช้สะพานแต่อุปสรรคอยู่ที่การเวนคืน แม้ว่าจะใช้พื้นที่ไม่มากก็ตาม ซึ่งจะต้องทำความเข้าใจกับประชาชนให้ได้ชื่อ “สะพานพระราม ๘“ เป็นชื่อพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เพื่อรำลึกถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ ๘ โครงการสะพานพระราม ๘ จะอยู่ทางด้านเหนือของช่วงสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้าขึ้นไปก่อนถึงบริเวณสะพานกรุงธนบุรี มีแนวเส้นทางเชื่อมต่อกับโครงการพระราชดำริทางคู่ขนานลอยฟ้าถนนบรมราชชนนี บริเวณแยกอรุณอมรินทร์ ผ่านถนนอรุณอมรินทร์ ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา และบรรจบกับปลายถนนวิสุทธิกษัตริย์ ใกล้กับธนาคารแห่งประเทศไทย. เป้าหมายของโครงการ1. เพื่อแบ่งเบาปริมาณการจราจรที่ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้าและผ่อนคลายปัญหาการจราจรในถนนที่ต่อเนื่องจากสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้าทั้งฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรีเช่นถนนราชดำเนินถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้าถนนบรมราชชนนีถนนตลิ่งชัน-นครไชยศรี ถนนจรัญสนิทวงศ์ ถนนอรุณอมรินทร์ ถนนสิรินธร เป็นต้น. 2. เพื่อลดปริมาณการจราจรที่จะผ่านเข้าไปในเกาะรัตนโกสินทร์. 3. เพื่อเชื่อมต่อโครงข่ายถนนให้มีความสมบูรณ์เอื้ออำนวยการคมนาคมขนส่งระหว่างฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรีและช่วยให้การพัฒนาพื้นที่ในฝั่งธนบุรีสะดวกยิ่งขึ้น. 4. เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีและส่งเสริมคุณภาพชีวิตให้กับประชาชนในพื้นที่และบริเวณใกล้เคียง. «กลับสู่ด้านบน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น