วันเสาร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับนวัตกรรมคำว่า นวัตกรรม เป็นคำที่ใช้ควบคู่กับ เทคโนโลยี เสมอๆ ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า Innotech ความจริงแล้วนวัตกรรมและเทคโนโลยีนั้นมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดเนื่องจากนวัตกรรมเป็นเรื่องของการคิดค้นหรือการกระทำใหม่ ๆเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นซึ่งอาจจะอยู่ในขั้นของการเสนอความคิดหรือในขั้นของการทดลองอยู่ก็ได้ ยังไม่เป็นที่คุ้นเคยของสังคม ส่วนเทคโนโลยีนั้นมุ่งไปที่การนำสิ่งต่าง ๆรวมทั้งวิธีการเข้ามาประยุกต์ใช้กับการทำงาน หรือแก้ปัญหาให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด ถ้าหากพิจารณาว่านวัตกรรมหรือสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่นี้น่าจะนำมาใช้ การนำเอานวัตกรรมเข้ามาใช้นี้ ก็จัดได้ว่าเป็นเทคโนโลยีด้วย และในการใช้เทคโนโลยีนี้ถ้าเราทำให้เกิดวิธีการหรือสิ่งใหม่ ๆ ขึ้น สิ่งนั้นก็เรียกว่าเป็นนวัตกรรม เราจึงมักเห็นคำ นวัตกรรมและเทคโนโลยี อยู่ควบคู่กันเสมอ
แนวคิดพื้นฐานที่ก่อให้เกิดนวัตกรรมการศึกษา แนวความคิดพื้นฐานทางการศึกษาที่เปลี่ยนแปลงไปมีผลทำให้เกิดนวัตกรรมการศึกษาขึ้นหลายรูปแบบด้วยกัน แนว ความคิดพื้นฐานทางการศึกษาที่สำคัญพอสรุปได้ 4 ประการคือ1. ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Different) ได้ก่อให้เกิดนวัตกรรม ได้แก่โรงเรียนไม่แบ่งชั้นบทเรียนสำเร็จรูปการสอนเป็นคณะคอมพิวเตอร์ช่วยสอน2. ความพร้อม (Readiness) ได้ก่อให้เกิดนวัตกรรม ได้แก่ชุดการเรียนการสอนศูนย์การเรียน3. เวลาที่ใช้ในการศึกษา นวัตกรรมที่สนองความคิดนี้ ได้แก่ตารางเรียนแบบยืดหยุ่นมหาวิทยาลัยเปิดการเรียนทางไปรษณีย์4. การขยายตัวด้านวิชาการและอัตราการเพิ่มของประชากร ทำให้เกิดนวัตกรรมในด้านนี้ขึ้น ได้แก่ดาวเทียมเพื่อการศึกษามหาวิทยาลัยเปิดการศึกษาทางไกลการเรียนผ่านอินเตอร์เน็ต
นวัตกรรม หมายถึงความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว ให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อนำ นวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วย ประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย
“นวัตกรรม” (Innovation) มีรากศัพท์มาจาก innovare ในภาษาลาติน แปลว่า ทำสิ่งใหม่ขึ้นมา ความหมายของนวัตกรรมในเชิงเศรษฐศาสตร์คือ การนำแนวความคิดใหม่หรือการใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่แล้วมาใช้ในรูปแบบใหม่ เพื่อทำให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ หรือก็คือ ”การทำในสิ่งที่แตกต่างจากคนอื่น โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ (Change) ที่เกิดขึ้นรอบตัวเราให้กลายมาเป็นโอกาส (Opportunity) และถ่ายทอดไปสู่แนวความคิดใหม่ที่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม” แนวความคิดนี้ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยจะเห็นได้จากแนวคิดของนักเศรษฐอุตสาหกรรม เช่น ผลงานของ Joseph Schumpeter ใน The Theory of Economic Development,1934 โดยจะเน้นไปที่การสร้างสรรค์ การวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อันจะนำไปสู่การได้มาซึ่ง นวัตกรรมทางเทคโนโลยี (Technological Innovation) เพื่อประโยชน์ในเชิงพาณิชย์เป็นหลัก นวัตกรรมยังหมายถึงความสามารถในการเรียนรู้และนำไปปฎิบัติให้เกิดผลได้จริงอีกด้วย (พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ , Xaap.com)
คำว่า “นวัตกรรม” เป็นคำที่ค่อนข้างจะใหม่ในวงการศึกษาของไทย คำนี้ เป็นศัพท์บัญญัติของคณะกรรมการพิจารณาศัพท์วิชาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ มาจากภาษาอังกฤษว่า Innovation มาจากคำกริยาว่า innovate แปลว่า ทำใหม่ เปลี่ยนแปลงให้เกิดสิ่งใหม่ ในภาษาไทยเดิมใช้คำว่า “นวกรรม” ต่อมาพบว่าคำนี้มีความหมายคลาดเคลื่อน จึงเปลี่ยนมาใช้คำว่า นวัตกรรม (อ่านว่า นะ วัด ตะ กำ) หมายถึงการนำสิ่งใหม่ๆ เข้ามาเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมจากวิธีการที่ทำอยู่เดิม เพื่อให้ใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น ดังนั้นไม่ว่าวงการหรือกิจการใด ๆ ก็ตาม เมื่อมีการนำเอาความเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ เข้ามาใช้เพื่อปรับปรุงงานให้ดีขึ้นกว่าเดิมก็เรียกได้ว่าเป็นนวัตกรรม บทความนี้นำมาจาก http://school.obec.go.th/sup_br3/t_1.htm
เทคโนโลยี
http://www.sci.nu.ac.th/information-it/index.php?topic=4084.0

ความหมาย ของเทคโนโลยีเมื่อเอ่ยถึงเทคโนโลยี คนส่วนใหญ่มักจะนึกถึงสิ่งที่เกี่ยวกับเครื่องมือหรืออุปกรณ์ใหม่ๆ ที่ทันสมัย มีราคาแพง มีระบบการทำงานที่ยุ่งยากซับซ้อนซึ่งเมื่อนำมาใช้แล้วสามารถช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพดีขึ้นและประสิทธิผลสูงขึ้น รวมทั้งประหยัดเวลาและแรงงานอีกด้วย อย่างไร ก็ตาม “เทคโนโลยี” เป็นคำที่มาจากภาษาลาติน และภาษากรีก คือ ภาษาลาติน Texere : การสาน (to weare) : การสร้าง (to construct) ภาษากรีก Technologia : การกระทำอย่างมีระบบ (Systematic Treatment)เทคโนโลยีมิได้มีความหมายเฉพาะการใช้เครื่องจักรกลอย่างเดียวเท่านั้นแต่ยังรวมไปถึงการปฏิบัติหรือดำเนินการใด ๆ ที่ใช้ความรู้ วิธีการ หรือเทคนิคทางวิทยาศาสตร์เพื่อช่วยให้การดำเนินการต่าง ๆ บรรลุผล พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ได้ให้ความหมายของเทคโนโลยีว่า หมายถึง วิทยาการที่เกี่ยวกับศิลปะ ในการนำเอาวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติและอุตสาหกรรมลักษณะของเทคโนโลยีสามารถจำแนกออกได้เป็น 3 ลักษณะ คือ (Heinich , Molenda and Russell. 1993 : 449)
1. เทคโนโลยีในลักษณะของกระบวนการ ( process) เป็นการใช้อย่างเป็นระบบของวิธีการทางวิทยาศาสตร์หรือความรู้ต่างๆที่ได้รวบรวมไว้ เพื่อนำไปสู่ผลในทางปฏิบัติ โดยเชื่อว่าเป็นกระบวนการที่เชื่อถือได้และนำไปสู่การแก้ปัญหาต่าง ๆ
2. เทคโนโลยีในลักษณะของผลผลิต (product) หมายถึง วัสดุและอุปกรณ์ที่เป็นผลมาจากการใช้กระบวนการทางเทคโนโลยี
3. เทคโนโลยีในลักษณะผสมของกระบวนการและผลผลิต (process and product) เช่น ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งมีการทำงานเป็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวเครื่องกับโปรแกรม
เทคโนโลยี หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวกับการผลิต การสร้าง และการใช้สิ่งของ กระบวนการ หรืออุปกรณ์ที่ไม่ได้มีในธรรมชาตินั่นเองเทคโนโลยี เป็นการนำเอาแนวความคิด หลักการ เทคนิค ความรู้ ระเบียบวิธี กระบวนการ ตลอดจนผลผลิตทางวิทยาศาสตร์ทั้งในด้านสิ่งประดิษฐ์และวิธีปฏิบัติมาประยุกต์ใช้ในระบบงานเพื่อช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการทำงานให้ดียิ่งขึ้นและเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงานให้มีมากยิ่งขึ้นการนำเทคโนโลยีมาใช้กับงานในสาขาใดสาขาหนึ่งนั้น เทคโนโลยีจะมีส่วนช่วยสำคัญ 3 ประการ และถือเป็นเกณฑ์ในการพิจารณานำเทคโนโลยีมาใช้ด้วย (ก่อ สวัสดิพาณิชย์ 2517 : 84) คือ
1. ประสิทธิภาพ ( Efficiency ) เทคโนโลยีจะช่วยให้การทำงานบรรลุผลตามเป้าหมายได้อย่างเที่ยงตรงและรวดเร็ว
2. ประสิทธิผล ( Productivity ) เป็นการทำงานเพื่อให้ได้ผลผลิตออกมาอย่างเต็มที่มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ เพื่อให้ได้ประสิทธิผลสูงสุด
3. ประหยัด ( Economy ) เป็นการประหยัดทั้งเวลาและแรงงานในการทำงานด้วยการลงทุนน้อยแต่ได้ผลมากกว่าที่ลงทุนไป
เทคโนโลยีการศึกษา ในปัจจุบันการดำเนินกิจการงานด้านต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพจะใช้เทคโนโลยีเข้าไปช่วยเป็นส่วนใหญ่ เทคโนโลยีจึงมีความเกี่ยวข้องกับระบบงานด้านต่าง ๆทุกแขนง ถ้านำไปใช้แก้ปัญหาในแขนงใด จะเรียกเทคโนโลยีในด้านนั้น เช่น เทคโนโลยีทางการแพทย์ เทคโนโลยีทางการเกษตร เทคโนโลยีทางการอุตสาหกรรม เป็นต้น ในวงการศึกษาก็เช่นเดียวกัน มีปัญหาต่าง ๆ มากมายที่จะต้องปรับปรุงแก้ไขจึงเกิดเทคโนโลยีทางการศึกษาขึ้น
เทคโนโลยีการศึกษา คือ การนำหลักการทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้เพื่อการออกแบบและส่งเสริมระบบการเรียนการสอนโดยเน้นที่วัตถุประส่งค์ทางการศึกษาที่สามารถวัดได้อย่างถูกต้องแน่นอน มีการยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนมากกว่ายึดเนื้อหาวิชา มีการใช้การศึกษาเชิงปฏิบัติโดยผ่านการวิเคราะห์และการใช้โสตทัศนูปกรณ์ รวมถึงเทคนิคการสอนโดยใช้อุปกรณ์ต่างๆ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ สื่อการสอนต่างๆในลักษณะของสื่อประสม และการศึกษาด้วยตนเอเทคโนโลยีการศึกษานั้นพัฒนามาจากการออกแบบการเรียนการสอนในรูปแบบต่างๆโดยรวมถึง
1. ความสนใจในเรื่องความแตกต่างๆระหว่างบุคคลในเรื่องของการเรียนรู้ เช่น บทเรียนแบบโปรแกรม และบทเรียนการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย เป็นต้น
2. ด้านพฤติกรรมศาสตร์และทฤษฎีการเรียนรู้ เช่น ทฤษฎีการเสริมแรงของบี.เอฟ สกินเนอร์ (B.F Skinner)3. เทคโนโลยีด้านวิทยาศาสตร์กายภาพ เช่น โสตทัศนูปกรณ์ประเภทต่างๆ รวมถึงสื่อสิ่งพิมพ์ด้วย เทคโนโลยีทางการศึกษา หมายถึง การนำความรู้ แนวคิด กระบวนการและผลผลิตทางวิทยาศาสตร์มาใช้ร่วมกันอย่างมีระบบ เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาการศึกษาให้ก้าวหน้าไปอย่างมีประสิทธิภาพ เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
สถาบันเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาแห่งชาติได้ให้ความหมายของการศึกษา และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ตามแนวทางของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 หมวด 9 เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ดังนี้ (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ 2543 : 3-6) มาตรา 63 รัฐต้องจัดสรรคลื่นความถี่ สื่อตัวนำและโครงสร้างพื้นฐานอื่นที่จำเป็นต่อการส่งวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ วิทยุโทรคมนาคม และการสื่อสารในรูปอื่น เพื่อใช้ประโยชน์สำหรับการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย การทะนุบำรุงศาสนา ศิลปและวัฒนธรรมตามความจำเป็น มาตรา 64 รัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการผลิต และพัฒนาแบบเรียน ตำราหนังสือทาง วิชาการ สื่อสิ่งพิมพ์ วัสดุอุปกรณ์และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาอื่น โดยเร่งรัดพัฒนาขีดความสามารถในการผลิต จัดให้มีเงินสนับสนุนการผลิตและมีการให้แรงจูงใจแก่ผู้ผลิตและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ทั้งนี้ โดยเปิดให้มีการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม มาตรา 65 ให้มีการพัฒนาบุคลากรทั้งด้านผู้ผลิต และผู้ใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เพื่อให้มีความรู้ ความสามารถ และทักษะในการผลิต รวมทั้งการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม มีคุณภาพ และประสิทธิภาพ มาตรา 66 ผู้เรียนมีสิทธิได้รับการพัฒนาขีดความสามารถ ในการใช้ เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในโอกาสแรกที่ทำได้เพื่อให้มีความรู้และทักษะเพียงพอที่จะใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต มาตรา 67 รัฐต้องส่งเสริมให้มีการวิจัยและพัฒนาการผลิต และพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา รวมทั้งการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เพื่อให้เกิดการใช้ที่คุ้มค่าและเหมาะสมกับกระบวนการเรียนรู้ของคนไทย มาตรา 68 ให้มีการระดมทุน เพื่อจัดตั้งกองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาจากเงินอุดหนุนของรัฐ ค่าสัมปทาน และผลกำไรที่ได้จาการดำเนินกิจการด้านสื่อมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ และโทรคมนาคมจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรประชาชน รวมทั้งให้มีการลดอัตราค่าบริการเป็นพิเศษ ในการใช้เทคโนโลยีดังกล่าวเพื่อการพัฒนาคนและสังคมหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินกองทุนเพื่อการผลิต การวิจัยและการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา 69 จัดให้มีหน่วยงานกลางทำหน้าที่พิจารณาเสนอนโยบาย แผนส่งเสริม และประสานการวิจัย การพัฒนาและการใช้ รวมทั้งการประเมินคุณภาพและประสิทธิภาพของการผลิตและการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ตามนัยของหมวด 9การศึกษา หมายความว่า กระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคม โดยการถ่ายทอดความรู้สึก การฝึก การอบรม การสืบสานทางวัฒนธรรม การสร้างจรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการ การสร้างองค์ความรู้อันเกิดจากสภาพแวดล้อม สังคมการเรียนรู้และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้อย่าง ต่อเนื่องตลอดชีวิตเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เป็นระบบการประยุกต์ผลิตผลทางวิทยาศาสตร์ และวิศวกรรม ผสมผสานกับหลักทางสังคมวิทยา และมานุษยวิทยา มาใช้ในการศึกษาเพื่อการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต โดยครอบคลุมการจัดและออกแบบระบบพฤติกรรม เทคนิควิธีการ การสื่อสาร การจัดสภาพแวดล้อม การจัดการเรียนการสอน และการประเมินเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ในที่นี้จะมีความหมายครอบคลุมการผลิต การใช้การพัฒนาสื่อสารมวลชน (ได้แก่ สื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์) เทคโนโลยีสารสนเทศ ( คอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ต มัลติมีเดีย) และโทรคมนาคม (โทรศัพท์ เครือข่ายโทรคมนาคม การสื่อสารอื่น ๆ) เพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ได้ตามความต้องการของผู้เรียนในทุกเวลาและสถานที่เทคโนโลยีทางการสอนเทคโนโลยีทางการสอน เป็นการนำเอาสื่อประเภทต่าง ๆ เทคนิค วิธีการ วิธีระบบ เพื่อการออกแบบการสอน และหลักการด้านจิตวิทยา สังคมศาสตร์และวิทยาศาสตร์กายภาพ รวมถึงการสื่อสารของมนุษย์มาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอน
8. กังหันชัยพัฒนา เป็น สิ่งประดิษฐ์เพื่อบำบัดน้ำเสียด้วยวิธีการเติมอากาศ
กังหันชัยพัฒนา เป็น กังหันบำบัดน้ำเสีย“สิทธิบัตรในพระปรมาภิไธย” เพื่อพัฒนาแหล่งน้ำแก่ปวงชน
ทำงานโดย การหมุนปั่น เพื่อเติมอากาศให้น้ำเสียกลายเป็นน้ำดี สามารถประยุกต์ใช้บำบัดน้ำเสีย จากการอุปโภคของประชาชน น้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม รวมทั้งเพิ่มออกซิเจน ให้กับบ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำทางการเกษตร
ส่วนประกอบ
กังหันชัยพัฒนา เป็น เครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่นลอย ( สามารถลอยขึ้นลงได้เองตามระดับน้ำ )
ประกอบด้วยซองวิดน้ำ มีใบพัดที่ ออกแบบเป็น ซองตักน้ำรูปสี่เหลี่ยมคางหมูจำนวน ๖ ซองแต่ละซองจะถูกแบ่งออกเป็น ๓ ห้องเท่าๆ กัน ทั้งหมดถูกติดตั้งบนโครงเหล็ก ๑๒ โครงใน ๒ ด้าน
มีศูนย์กลางของกังหันที่เรียกว่า " เพลากังหัน " ซึ่งวางตัวอยู่บนตุ๊กตารองรับเพลา ที่ติดตั้งอยู่บนทุ่นลอย และมีระบบขับส่งกำลัง ด้วยเฟืองจานขนาดใหญ่ ใช้มอเตอร์ไฟฟ้าขนาด ๒ แรงม้า สำหรับขับเคลื่อนซองน้ำ ให้หมุนรอบเป็นวงกลม อยู่บนโครงเหล็กที่ยึดทุ่นทั้ง ๒ ด้านเข้าไว้ด้วยกัน
ด้านล่างของกังหันในส่วนที่จมน้ำ จะมีแผ่นไฮโดรฟอยล์ยึดปลายของทุ่นลอยด้านล่าง
การทำงาน
ตามทฤษฎีเครื่องกลเติมอากาศ นับว่าการเติมอากาศหรือออกซิเจนเป็นหัวใจของระบบบำบัดน้ำเสีย เพราะถ้ามีออกซิเจนอยู่มาก จุลินทรีย์ก็สามารถบำบัดน้ำได้ดี และบำบัดน้ำเสียได้มากขึ้น แต่ที่ความดันบรรยากาศซึ่งเป็นความดันที่ค่อนข้างต่ำ สำหรับออกซิเจนในการละลายน้ำ จึงต้องมีการเพิ่มพื้นที่สัมผัส ระหว่างอากาศกับน้ำให้ได้มากที่สุด
กังหันชัยพัฒนา เป็น กังหันน้ำที่มีโครงเป็นรูปเหลี่ยมบนทุ่นลอย และมีซองตักวิดน้ำซึ่งเจาะเป็นรูพรุน เราจึงเห็นสายน้ำพรั่งพรู จากซองวิดน้ำขณะที่กังหันหมุนวนเวียน ซ้ำแล้วซ้ำเล่า
ใช้หลักการวิดน้ำขึ้นไปสาดกระจายให้ เป็นฝอยในอากาศ ทำให้น้ำสัมผัสกับอากาศได้อย่างทั่วถึง ส่งผลให้ปริมาณ ออกซิเจนในอากาศสามารถ ละลายผสมผสาน เข้าไปในน้ำได้อย่างรวดเร็ว ทุกครั้งที่น้ำถูกตักขึ้นมา ออกซิเจนในอากาศจะละลายในน้ำได้ดีขึ้น เพราะพื้นที่ในการทำปฏิกิริยามีมากกว่าเดิม ทำให้น้ำเสีย ซึ่งเป็นปัญหาของแหล่งน้ำในหลายพื้นที่ มีคุณภาพที่ดีขึ้น
การเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำจะช่วยให้จุลินทรีย์ย่อยสลายสิ่งสกปรกในน้ำเสียได้ อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็น กระบวนการทางชีวภาพ ที่ใช้ในการบำบัดน้ำเสีย ที่ได้รับความนิยมอย่างมาก เพราะเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพ และใช้ค่าใช้จ่ายในการบำบัดน้ำเสียน้อย และแหล่งน้ำเสียที่กระจายไปตามแหล่งต่างๆ จึงทำให้ยากแก่การรวบรวมน้ำเสีย เพื่อนำไปบำบัดในโรงบำบัดน้ำเสีย และต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง
การประยุกต์ใช้งานสามารถใช้ประโยชน์เพื่อเติมอากาศให้กับน้ำหรือใช้ เพื่อขับเคลื่อนน้ำได้ โดยการใช้งานทั้งในรูปแบบ ที่ติดตั้งอยู่กับที่ และใช้ในรูปแบบเคลื่อนที่ เพื่อเติมอากาศให้กับแหล่งน้ำขนาดใหญ่ หรือตามคลองส่งน้ำที่มีความยาวมาก ซึ่งดัดแปลงได้ด้วยการใช้พลังงาน จากเครื่องยนต์ของกังหัน
จุดเริ่มต้นของกังหันน้ำชัยพัฒนา
กังหันน้ำชัยพัฒนาสร้างขึ้น เพื่อการแก้มลพิษทางน้ำซึ่งทวีความรุนแรงมากขึ้นในหลายพื้นที่
วิวัฒนาการของกังหันน้ำชัยพัฒนานั้น เริ่มจากการสร้างต้นแบบได้ครั้งแรกในปี ๒๕๓๒ แล้วนำไปติดตั้งยังพื้นที่ทดลองเพื่อแก้ปัญหาไปพร้อมๆ กัน
ทั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้มีพระราชดำริ ให้มูลนิธิชัยพัฒนาดำเนินการวิจัย และพัฒนากังหันน้ำ ซึ่งโครงสร้างและส่วนประกอบ ในส่วนที่เป็นปัญหา ได้รับการแก้ไขมาโดยตลอด นับแต่มีการสร้างเครื่องต้นแบบ
ในด้านโครงสร้างนั้นได้พัฒนาให้กังหันน้ำหมุนด้วยความเร็ว ๑,๔๕๐ รอบต่อนาที โดยที่ซองตักน้ำหมุนด้วยความเร็ว ๕ รอบต่อนาที ขับด้วยมอเตอร์ขนาด ๒ แรงม้า และมีการปรับปรุง โครงสร้างในรูปแบบต่างๆ เช่น ออกแบบตัวเครื่องให้สามารถ ขับเคลื่อนด้วยคนเพื่อใช้ในแหล่งน้ำ ที่ไฟฟ้ายังเข้าไปไม่ถึง เป็นต้น
ด้านประสิทธิภาพสามารถถ่ายเทออกซิเจนลงน้ำได้ ๐.๙ กิโลกรัมต่อแรงม้า - ชั่วโมง และมีการพัฒนาให้ถ่ายเทออกซิเจนได้ ๑.๒ กิโลกรัมต่อแรงม้า - ชั่วโมง
สิทธิบัตรการประดิษฐ์
กังหันน้ำชัยพัฒนา ได้รับสิทธิบัตรจากกรมทรัพย์สินทางปัญญา เมื่อวันที่ ๒ ก.พ. ๒๕๓๖ หลังจากเลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักที่สนองพระราชดำริ ในการพัฒนากังหันน้ำ ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ยื่นขอรับสิทธิบัตรเมื่อ วันที่ ๒ มิ.ย. ๒๕๓๕ จึงนับว่าเป็นสิทธิบัตรในพระปรมาภิไธย ของพระมหากษัตริย์พระองค์แรกของไทย และครั้งแรกของโลก และถือว่าวันที่ ๒ ก.พ. ของทุกปีเป็น “วันนักประดิษฐ์” นับแต่นั้นเป็นต้นมา
นอกจากนี้ “กังหันชัยพัฒนา” ยังได้รับรางวัลเหรียญทองจาก The Belgian Chamber of Inventor องค์กรทางด้านนวัตกรรมที่เก่าแก่ของเบลเยียม ภายในงาน “ Brussels Eureka 2000” ซึ่งเป็นงานแสดงสิ่งประดิษฐ์ใหม่ของโลกวิทยาศาสตร์ ณ กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม
"กังหันน้ำชัยพัฒนา" คือสิ่งประดิษฐ์ซึ่งเกิดจากพระปรีชาสามารถ และพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
7.โครงการเศรษฐกิจพอเพียงเฉลิมพระชนม์พรรษา 80 พรรษา

•ในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
ทรงครองราชย์สมบัติครบ 60 ปี ในปี 2549 และทรงมีพระชนมายุ
80 พรรษา ในปี 2550
•สถานีตำรวจภูธรอำเภอพังโคน จัดทำโครงการเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา ขึ้น
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ความพอเพียงในระดับบุคคลและครอบครัวแบบพื้นฐาน
เพื่อให้เกิดความพอเพียงระดับหน่วยงานและชุมชน
เพื่อเป็นการส่งเสริมรายได้ลดรายจ่ายในครอบครัวให้พออยู่พอกิน,
เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับครอบครัว
เพื่อให้เจ้าหน้าที่ในหน่วยได้ร่วมกิจกรรมกับชุมชน
เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติ
เพื่อเป็นการสนับสนุนโครงการเศรษฐกิจพอเพียงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
*************************

ที่ตั้งโครงการเศรษฐกิจพอเพียงด้านหลังสถานีตำรวจ

สวนพืชผักผสมผสาน

จุลินทรีย์ชีวภาพ (EM)

ที่เก็บจุลินทรีย์ EM ที่กำลังเพาะขยายเชื้อเพื่อแบ่งปัน ประชาชนไปศึกษา

หมูชีวภาพ (หมูหลุม) เป็นหมูที่เลี้ยงโตไว ไร้กลิ่นเหม็น

เลี้ยงง่าย โตไว กินทุกอย่าง

บ่อเลี้ยงปลา

เลี้ยงไม่ยาก โตมาจับกิน จับขาย สบายใจ

บ่อเลี้ยงปลาดุก เลี้ยงได้บ่อละ 200-300 ตัว 45 วัน จับขายได้เลย

บ่อเลี้ยงกบก็มี

เลี้ยงง่าย โตไว ได้ขาย ได้กิน ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้

ไก่พื้นเมือง ไก่สามสายพันธ์ ก็เลี้ยงครับ

ผักสมุนไพรก็มี สามารถใช้รักษาโรคต่างๆ ได้ สอบถามที่ ท่านผู้กำกับการโดยตรงครับ

ผักสวนครัวรั้วกินได้ เน้นข้าราชการตำรวจปลูกทุกครัวเรือน

สวนผักลอยฟ้า ล้อมรอบสถานี
6. โครงการสะพานพระราม 8 “โครงการสะพานพระราม 8” เป็นหนึ่งในโครงการแก้ไขปัญหาจราจรตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราชพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงตระหนักถึงปัญหาการจราจรแออัดบนสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า ซึ่งทำให้เกิดการคับคั่งของจราจรบริเวณพื้นที่ฝั่งตะวันออก โดยเฉพาะกรุงเทพมหานครชั้นในบริเวณถนนราชดำเนินกลาง ซึ่งเชื่อมต่อกับฝั่งธนบุรีผ่านทางสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า และเข้าบรรจบกับถนนจรัญสนิทวงศ์ เพื่อคลี่คลายปัญหาพื้นผิวการจราจรไม่เพียงพอและปรับปรุงการไหลเวียนของการจราจรในบริเวณนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้ทรงมีพระราชดำริให้ก่อสร้างทางคู่ขนานลอยฟ้าถนนบรมราชชนนีจากถนนอรุณอมรินทร์ถึงตลิ่งชัน เมื่อประมาณกลางปี ๒๕๓๘ เพื่อบรรเทาปัญหาการจราจรในบริเวณเชิงสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้าและถนนบรมราชชนนีเป็นทางยกระดับขนาด ๔ ช่องจราจร ซึ่งขณะนี้ได้ดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดใช้แล้วและเพื่อรองรับปริมาณการจราจรที่เพิ่มขึ้นจากการเปิดใช้เส้นทางคู่ขนานลอยฟ้าถนนบรมราชชนนีรวมทั้งเพิ่มจุดเชื่อมโยงกรุงเทพมหานครฝั่งพระนครและธนบุรี จึงทรงมีพระราชดำริผ่านมายังปลัดกรุงเทพมหานครให้พิจารณาก่อสร้างสะพานเป็นเส้นทางข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา เพิ่มขึ้นอีก ๑ แห่ง ซึ่ง กรุงเทพมหานครเห็นว่าโครงการพระราชดำริ มีความเป็นไปได้สูง สามารถแก้ไขปัญหาการจราจรได้ดีกว่าการขยายสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้าโดยจะใช้ซอยต่างๆบริเวณถนนจรัญสนิทวงศ์เป็นเส้นทางรับรถที่จะมาใช้สะพานแต่อุปสรรคอยู่ที่การเวนคืน แม้ว่าจะใช้พื้นที่ไม่มากก็ตาม ซึ่งจะต้องทำความเข้าใจกับประชาชนให้ได้ชื่อ “สะพานพระราม ๘“ เป็นชื่อพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เพื่อรำลึกถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ ๘ โครงการสะพานพระราม ๘ จะอยู่ทางด้านเหนือของช่วงสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้าขึ้นไปก่อนถึงบริเวณสะพานกรุงธนบุรี มีแนวเส้นทางเชื่อมต่อกับโครงการพระราชดำริทางคู่ขนานลอยฟ้าถนนบรมราชชนนี บริเวณแยกอรุณอมรินทร์ ผ่านถนนอรุณอมรินทร์ ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา และบรรจบกับปลายถนนวิสุทธิกษัตริย์ ใกล้กับธนาคารแห่งประเทศไทย. เป้าหมายของโครงการ1. เพื่อแบ่งเบาปริมาณการจราจรที่ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้าและผ่อนคลายปัญหาการจราจรในถนนที่ต่อเนื่องจากสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้าทั้งฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรีเช่นถนนราชดำเนินถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้าถนนบรมราชชนนีถนนตลิ่งชัน-นครไชยศรี ถนนจรัญสนิทวงศ์ ถนนอรุณอมรินทร์ ถนนสิรินธร เป็นต้น. 2. เพื่อลดปริมาณการจราจรที่จะผ่านเข้าไปในเกาะรัตนโกสินทร์. 3. เพื่อเชื่อมต่อโครงข่ายถนนให้มีความสมบูรณ์เอื้ออำนวยการคมนาคมขนส่งระหว่างฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรีและช่วยให้การพัฒนาพื้นที่ในฝั่งธนบุรีสะดวกยิ่งขึ้น. 4. เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีและส่งเสริมคุณภาพชีวิตให้กับประชาชนในพื้นที่และบริเวณใกล้เคียง. «กลับสู่ด้านบน
5. โครงการก่อสร้างถนนเลียบรถไฟสายใต้ (สายบางกอกน้อย) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงใช้ช่วงเวลาเสด็จฯ ไปโรงพยาบาลศิริราชเพียงไม่นานได้ทรงงานและทรงศึกษาสภาพพื้นที่บริเวณโดยรอบอย่างละเอียดจึงมีพระราชดำริว่า สามารถขยายแนวถนนเลียบทางรถไฟสายธนบุรี จากช่วงปลายถนนอิสรภาพ ถึงถนนจรัญสนิทวงศ์ ซึ่งสภาพเดิมจากปลายถนนอิสรภาพเข้าไปประมาณ 230 เมตร เป็นถนนคอนกรีต ส่วนที่เหลืออีกประมาณ 380 เมตรเป็นที่ลุ่ม มีบ้านเรือน เพิงพักอาศัย และมีทางเดินตามแนวทางรถไฟ จนถึงถนนจรัญสนิทวงศ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัสถึงแนวพระราชดำริในการตัดถนนสายนี้ตอนหนึ่งว่า “ต่อไป โครงการที่ 3 คือ สร้างทางในที่ที่ยังไม่มีทาง. อันนี้เกิดขึ้นที่ใกล้สถานีบางกอกน้อยระหว่างสถานีบางกอกน้อย คือ ปลายถนนอิสรภาพเชื่อมกับถนนจรัญสนิทวงศ์. ตรงนั้นเป็นที่ของการรถไฟ เป็นที่ลุ่มมีทางเดินเข้าไป ไม่ทะลุแล้วก็ขลุกขลัก. ทางกรงเทพมหานครได้ไปจัดการ. มีบ้านคนที่บุกรุกที่ของรถไฟบ้าง. แต่ก็ได้ย้ายบ้านเหล่านั้น เข้าใจว่าเป็นที่พอใจของผู้บุกรุก ให้ที่เขาอยู่ ไม่เดือดร้อน. ทางกำลังสร้างยังไม่เสร็จ. ต้องถมทรายเดี๋ยวนี้ได้กรุยมาเรียบร้อย เป็นระยะ 600 เมตร ยังไม่ได้มีการถม ยังไม่ครบ. แต่เมื่อครบแล้วก็จะเป็นทางที่จะทะลุ จากถนนอิสรภาพซึ่งต้น. ถนนอิสรภาพนี่ต้องเลี้ยวขวามาเข้าที่ถนนอรุณอมรินทร์. จากตรงนั้นก็สามารถเชื่อมจรัญสนิทวงศ์. เข้าใจว่าจะช่วยการสัญจรขึ้นเล็กน้อย. โครงการนี้ได้ให้เงินส่วนหนึ่ง แต่ว่าไม่พอ ต้องใช้เงินงบของกรุงเทพมหานคร และเงินบริจาคเพิ่มเติม. ราคาก็ไม่ใช่น้อยแต่ก็จะช่วยแก้ปัญหาจราจร.เมื่อกรุงเทพมหานครรับสนองแนวพระราชดำริแล้ว ได้ขออนุญาตใช้ที่ดดินริมทางรถไฟสายธนบุรีในพื้นที่เขตบางกอกน้อย ช่วงปลายถนนอิสรภาพถึงถนนจรัญสนิทวงศ์จากการทางรถไปแห่งประเทศไทย เพื่อก่อสร้างเป็นถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก 2 ช่องจราจร มีระยะทาง 610 เมตร มีเขตทางกว้าง 10 เมตร เริ่มดำเนินการก่อสร้างตั้งแต่วันที่ 19 ตุลาคม 2536 งบประมาณดำเนินการ 16.5 ล้านบาท และได้เปิดการจราจรอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2537 โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานนามถนนสายนี้ว่า “ถนนสุทธาวาส” ตามชื่อวัดที่ตั้งอยู่ในบริเวณดังกล่าว ถนนสุทธาวาส ได้ช่วยบรรเทาปริมาณรถยนต์ที่ผ่านถนนจรัญสนิทวงศ์ บรรจบกับถนนพรานนก(สามแยกไฟฉาย) ให้น้อยลง ซึ่งทำให้การจราจรที่ถนนจรัญสนิทวงศ์คล่องตัวขึ้น นอกจากนี้ ถนนสายนี้ยังเป็นเส้นทางอีกเส้นทางหนึ่งที่จะไปสู่จุดชุมชนในย่านสำคัญๆ เช่น สถานีรถไฟสายธนบุรี โรงพยาบาลศิริราช ตลาดพรานนกได้อีกด้วย «กลับสู่ด้านบน
4. โครงการพระราชดำริถนนคู่ขนานลอยฟ้า ถนนบรมราชชนนี เนื่องจากปริมาณการจราจรที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะจากเชิงสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้าจนถึงทางแยกสิรินธรทำให้ช่องทางการจราจรที่มีอยู่ 8 ช่องทาง ไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้พื้นที่ถนนที่เพิ่มขึ้น วิธีการแก้ไขปัญหาดังกล่าว จะต้องเพิ่มพื้นผิวการจราจรให้มากขึ้น แต่การเพิ่มพื้นที่ในระดับราบนั้นกระทำได้ยาก เนื่องจากริมถนนทั้งสองด้านเต็มไปด้วย ตึก, อาคาร และสำนักงานต่างๆ มากมาย ดังนั้น วิธีแก้ปัญหาที่เหมาะสมที่สุดคือ การเพิ่มพื้นที่จราจรด้วยการสร้างทางยกระดับขึ้นช่วงหนึ่ง เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการรองรับการจราจรได้มากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน โครงการฯ นี้เป็นโครงการหนึ่งซึ่งสนองพระบรมราโชบาย ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระมหากรุณาคุณให้พสกนิกร เพื่อแก้ไขปัญหาจราจรที่ติดขัด จากเชิงสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้าจนถึงทางแยกสิรินธร ซึ่ง กทม. ได้ดำเนินการตามพระราโชบายโดยรอบคอบและเร่งด่วน เพื่อประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาจราจรในจุดสำคัญอีกจุดหนึ่งตามพระราชประสงค์ ลักษณะโครงการเป็นสะพานยกระดับ สร้างขึ้นเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการรองรับการจราจร จากบริเวณสะพานปิ่นเกล้าจนถึงทางแยกตลิ่งชันถนนบรมราชชนนีทั้งขาเข้าและขาออก และเพื่อแยกการจราจรของยวดยานที่ต้องการเดินทางระยะไกลออกจากยวดยานที่เดินทางในระยะใกล้ ตั้งแต่สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ จนถึงทางแยกตลิ่งชันบนถนนบรมราชชนนี เริ่มที่เกาะกลางจากแยกอรุณอมรินทร์ถึงพุทธมณฑลสาย 2 โดยขาออกจะขึ้นที่แยกอรุณอมรินทร์ ลงได้ 3 จุดที่ตลิ่งชันหน้าหมูบ้านกฤษดานคร และใกล้วงแหวนฉิมพลี ไม่มีทางขึ้นระหว่างทาง ส่วนขาเข้าขึ้นที่ต้นทางก่อนถึงพุทธมณฑลสาย 2 ขึ้นได้ที่หน้าหมู่บ้านกฤษดานครและตลิ่งชัน และจะไม่มีทางลงระหว่างทาง โดยแบ่งความรับผิดชอบการก่อสร้างโครงการฯ เป็น 2 ส่วน คือ
1. โครงการทางคู่ขนานลอยฟ้า ถนนบรมราชชนนี ตอนปิ่นเกล้าทางแยกต่างระดับสิรินธร เริ่มดำเนินการตั้งแต่บริเวณทางแยกอรุณอมรินทร์ ถึงทางแยกต่างระดับสิรินธร ความยาวทั้งสิ้นประมาณ 4,515 กิโลเมตรมอบให้กรุงเทพมหานครรับผิดชอบดำเนินงาน
2. โครงการต่อเนื่องจากทางคู่ขนานลอยฟ้า ถนนบรมราชชนนี ตอนทางแยกต่างระดับสิรินธร – ทางแยกต่างระดับฉิมพลี เริ่มดำเนินการต่อเชื่อมกับโครงการทางคู่ขนานลอยฟ้า ถนนบรมราชชนนีของกรุงเทพมหานคร บริเวณทางแยกต่างระดับสิรินธร และสิ้นสุดโครงการบริเวณเลยจุดข้ามทางแยกพุทธมณฑลสาย 2 ไปประมาณ 500 เมตร ความยาวทั้งสิ้นประมาณ 9,363 กิโลเมตรมอบให้กรมทางหลวงรับผิดชอบดำเนินการ
ลักษณะโครงการฯ ในช่วงที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรุงเทพมหานคร เป็นทางยกระดับโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก และคอนกรีตอัดแรง บนถนนบรมราชชนนี สูงเหนือผิวจราจรเดิมประมาณ 12.00 เมตร กว้าง 19.45 เมตร มีช่องทางจราจร 4 ช่องทาง ช่องทางละ 3.50 เมตร ไหล่ทางข้างละ 1.25 เมตร แบ่งเป็นช่องทางขาออก 2 ช่องทาง และช่องทางขาเข้า 2 ช่องทาง พื้นผิวจราจรคอนกรีตเสริมเหล็กและปูทับหน้าด้วยแอสฟัลท์ผสมร้อนหนา 5 เซนติเมตร พร้อมเกาะกลางเพื่อแยกทิศทางการจราจรรวมทั้งงานติดตั้งไฟฟ้าแสงสว่างบนทางยกระดับ และระบบระบายน้ำ งานปรับปรุงพื้นผิวจราจรเดิม งานภูมิสถาปัตย์ และติดตั้งเครื่องหมายจราจรระยะทางรวม 4,515 กิโลเมตร «กลับสู่ด้านบน
3. โครงการก่อสร้างสะพานมัฆวานรังสรรค์
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริให้กรุงเทพมหานครแก้ไขปัญหาจราจรบริเวณ สะพานมัฆวานรังสรรค์ ถนนราชดำเนินนอก เพื่อให้การจราจรเป็นไปอย่างต่อเนื่องและสัมพันธ์กับบริเวณ เชิงสะพานผ่านฟ้าลีลาศ สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า ในการก่อสร้างกรุงเทพมหานครได้คำนึงถึงความกลมกลืนเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของสะพานมัฆวานรังสรรค์ และความสวยงาม โดยก่อสร้างสะพานคู่ขนานกับสะพานเดิมจำนวน 2 สะพาน ไม่ต้องย้ายน้ำพุ และให้มีระดับความสูงน้อยกว่าสะพานมัฆวานรังสรรค์ สะพานคู่ขนานทั้ง 2 สะพาน นี้มีความกว้างสะพานละ 15.00 เมตร มีผิวจราจร 10.00 เมตร ขนาด 3 ช่องทางจราจร มีความยาวสะพานละ 22.00 เมตร และมีการปรับปรุงเชิงลาดสะพานและส่วนต่อเนื่องด้วย เริ่มดำเนินการก่อสร้างตั้งแต่วันที่ 2 สิงหาคม 2537 แล้วเสร็จเปิดการจราจรในวันที่ 2 ธันวาคม 2537 รวมงบประมาณที่ใช้ในการก่อสร้างทั้งสิ้น 40 ล้านบาทและใช้งบประมาณตกแต่งศิลปกรรมจำนวน 3.6 ล้านบาท«กลับสู่ด้านบน
2. โครงการก่อสร้างถนนรัชดาภิเษก
เป็นโครงการแรกที่เกิดจากแนวพระราชดำริในการแก้ไขปัญหาการจราจรของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เมื่อต้นปีพุทธศักราช 2514 นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีได้เข้าเฝ้ากราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่องพระราชพิธีรัชดาภิเษก ซึ่งเป็นพระราชพิธีเฉลิมฉลองในวโรกาส ที่พระองค์ทรงครองราชย์ครบ 25 ปี และได้รับกระแสพระราชดำริเรื่องการจราจรติดขัด เห็นสมควรจัดสร้างถนนเพิ่มขึ้น อาจเป็นถนนวงแหวนรอบ (Ring Road) และถนนยกระดับ (Elevated Road) เพื่อเป็นของขวัญแก่ประชาชนทั่วไป พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จวางศิลาฤกษ์ถนนวงรอบนี้ เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2514 และได้พระราชทานนามว่า “ถนนรัชดาภิเษก” ลักษณะโดยทั่วไปของถนนรัชดาภิเษกเป็นถนนวงแหวนหรือวงรอบ สร้างขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกในการจราจร ระหว่างชานเมืองด้านหนึ่ง ไปสู่ชานเมืองอีกด้านหนึ่ง โดยไม้ต้องผ่านใจกลางเมืองที่มีการจราจรคับคั่ง ถนนรัชดาภิเษกเป็นถนนสายประธานที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบโครงข่ายถนนในผังเมืองกรุงเทพฯ โดยทั่วไปจะเป็นทางยกระดับดินที่มีเขตทางกว้าง 25-50 เมตร โดยแบ่งเป็น 2 ทิศทาง ทิศทางละ 2-4 ช่องจราจร มีเกาะกลาง ระบบไฟฟ้าแสงสว่าง สองข้างทางมีทางเท้าที่กว้างพอสร้างท่อระบายน้ำ และปลูกต้นไม้ให้ร่มรื่นตลอดสาย เส้นทางของถนนรัชดาภิเษกเริ่มจากแยกท่าพระ ตัดผ่านถนนตากสิน ข้ามสะพานกรุงเทพฯ ตัดผ่านถนนเจริญกรุง ถนนสาธุประดิษฐ์ ถนนนางลิ้นจี่ บริเวณท่าเรือคลองเตย ผ่านถนนพระราม 4 เข้าไปในที่ดินของโรงงานยาสูบ ผ่านถนนสุขุมวิทไปตามแนวถนนอโศก ผ่านถนนลาดพร้าว ถนนพหลโยธิน ถนนวิภาวดีรังสิต และถนนประชาชื่นไปตามแนวถนนงามวงศ์วาน ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาไปบรรจบกับถนนจรัญสนิทวงศ์ ไปตามแนวถนนจนถึงสามแยกท่าพระ มีความยาวตลอดสายประมาณ 45 กิโลเมตร โดยใช้เส้นทางเดิมประมาณ 18 กิโลเมตร และเส้นทางใหม่ประมาณ 27 กิโลเมตร ในจำนวนนี้เป็นที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย ซึ่งสำรองไว้สำหรับวางรางรถไฟสายตะวันออกประมาณ 7.5 กิโลเมตร ที่ดินของการท่าเรือและโรงงานยาสูบ ส่วนที่เหลือเป็นที่ดินเวนคืนจากเอกชน นอกจากนี้ยังต้องขยายและปรับปรุงถนนเดิมบางช่วง เพื่อให้ได้มาตรฐานตลอดสาย
ช่วงที่ใช้เส้นทางเดิม1. ช่วงจากถนนตากสินไปตามถนนมไหสวรรค์ ข้ามสะพานกรุงเทพฯ ถนนเจริญกรุง ความยาวประมาณ 1.5 กิโลเมตร2. ช่วงจากแยกท่าพระ ไปตามถนนจรัญสนิทวงศ์ ข้ามสะพานพระราม 6 และไปตามถนนวงศ์สว่างถึงถนนกรุงเทพ-นนทบุรี ความยาวประมาณ 14.5 กิโลเมตร3. ช่วงจากสี่แยก อสมท.ไปตามถนนอโศก-ดินแดง ตัดผ่านถนนเพชรบุรีตัดใหม่ถึงถนนสุขุมวิท ความยาวประมาณ 2 กิโลเมตร ช่วงที่ต้องสร้างใหม่1. ช่วงจากถนนเจริญกรุงถึงคลองวัดไทร ความยาวประมาณ 2.5 กิโลเมตร เปิดการจราจรเมื่อเดือนมกราคม 2520 ใช้งบประมาณก่อสร้าง 30 ล้านบาท (ก่อสร้างพร้อมกับถนนพระราม 3)
2. ช่วงจากคลองวัดไทรถึงถนนนางลิ้นจี่ ความยาวประมาณ 3.5 กิโลเมตร อยู่ภายใต้การควบคุมของการทางพิเศษแห่งประเทศไทยเปิดการจราจรเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2530 ใช้งบประมาณก่อสร้าง 112 ล้านบาท
3. ช่วงจากถนนนางลิ้นจี่ถึงถนนสุนทรโกษา ความยาวประมาณ 2 กิโลเมตร เปิดการจราจรเมื่อเดือน ธันวาคม 2521 ใช้งบประมาณก่อสร้าง 56 ล้านบาท
4. ช่วงจากถนนสุขุมวิทถึงถนนสุนทรโกษา ความยาวประมาณ 2.5 กิโลเมตร เปิดการจราจรเมื่อวันที่ 5 มกราคม 2531 ใช้งบประมาณก่อสร้าง 128 ล้านบาท
5. ช่วงจากถนนลาดพร้าวถึงสี่แยก อสมท. ความยาวประมาณ 4 กิโลเมตร เปิดการจราจรเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2528 ใช้งบประมาณก่อสร้าง 159 ล้านบาท
6. ช่วงจากถนนวิภาวดีรังสิต-ถนนพหลโยธิน-ถนนลาดพร้าว ความยาวประมาณ 4 กิโลเมตร เปิดการจราจรเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2522 ใช้งบประมาณก่อสร้าง 63 ล้านบาท
7. ช่วงจากถนนตากสินถึงสามแยกท่าพระ ความยาวประมาณ 3.2 กิโลเมตร เปิดการจราจรเมื่อวันที่ 6 เมษายน 2530 ใช้งบประมาณก่อสร้าง 171 ล้านบาท
8. ช่วงจากแยกวงศ์สว่างถึงคลองเปรมประชากร ความยาวประมาณ 2 กิโลเมตร เปิดการจราจรเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2531 ใช้งบประมาณก่อสร้าง 57 ล้านบาท
9. ช่วงจากคลองเปรมประชากรถึงถนนวิภาวดีรังสิต (โครงการทางแยกต่างระดับรัชดาภิเษก-วิภาวดีรังสิต) ซึ่งเป็นช่วงสุดท้ายที่ทำให้วงแหวนรัชดาภิเษกครบวงรอบ เปิดการจราจรบางส่วนเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2536 และเปิดการจราจรทั้งหมดในวันที่ 12 สิงหาคม 2536 การปรับปรุงเส้นทางเดิมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของถนนรัชดาภิเษก
1. ช่วงข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา กรมโยธาธิการได้ก่อสร้างสะพานพระราม 7 ขนาด 6 ช่องจราจร แทนพระราม 6 ซึ่งก็ใช้ร่วมกับทางรถไฟและมีเพียง 2 ช่องจราจรเท่านั้น เปิดการจราจรเมื่อเดือนสิงหาคม 2536 ส่วนสะพานกรุงเทพฯ ซึ่งมี 4 ช่องจราจร กรมโยธาธิ การจะก่อสร้างสะพานคู่ขนานอีกหนึ่งสะพานในเร็ว ๆ นี้ โดยออกแบบให้ข้ามถนนเจริญนคร และถนนตากสินด้วย
2. ช่วงจากสะพานพระราม 7 ถึงแยกวงศ์สว่าง ปรับปรุงขยายให้เต็มเขตทางเป็น 6 ช่องจราจร ใช้งบประมาณก่อสร้าง 65 ล้านบาท
3. ช่วงถนนอโศก เดิมมีพื้นผิวจราจร 4 ช่องทาง ซึ่งกรุงเทพมหานครได้พิจารณาก่อสร้างเป็นทางยกระดับหรืออุโมงค์เพื่อเพิ่มความจุอย่างน้อย 3 ช่องจราจร
4. ช่วงถนนจรัญสนิทวงศ์ กรมโยธาธิการได้ดำเนินการจ้างบริษัทวิศวกรที่ปรึกษาทำการสำรวจและออกแบบทางขนาดสายใหม่ เพื่อแบ่งเบาการจราจรในถนนจรัญสนิทวงศ์ และเสริมโครงข่ายถนนให้ดียิ่งขึ้น ทางแยกที่สำคัญในแนวถนนรัชดาภิเษก กรุงเทพมหานครได้พิจารณาดำเนินการก่อสร้าง สะพานข้ามทางแยก ซึ่งเปรียบเสมือนคอขวดของการจราจร เช่น แยกแม่พระ บางพลัด วงศ์สว่าง ประชานุกูล วิภาวดีรังสิต รัชโยธิน ลาดพร้าว เพชรบุรีตัดใหม่ ฯลฯ นอกจากนี้ ยังได้ก่อสร้างโครงการทางแยกต่างระดับรัชดาภิเษก-วิภาวดีรังสิต เป็นโครงการทางแยกชนิด Semi – directional Loop ที่เชื่อมโยงระหว่างถนนวิภาวดีรังสิต ถนนรัชดาภิเษกและถนนกำแพงเพชร 2 โดยที่รถไม่ต้องหยุดรอสัญญาณไฟอีกด้วย ลักษณะโครงการ ประกอบด้วย สะพานสายหลัก มีช่องจราจร 2 ทิศทาง ทิศทางละ 2 – 3 ช่องจราจร ความยาวประมาณ 1,500 เมตร ก่อสร้างข้ามถนนวิภาวดีรังสิต ทางรถไฟสายเหนือ และคลองเปรมประชากร โดยไม่ปิดการจราจรระหว่างก่อสร้างถนนสายรอง ประกอบด้วย ทางขึ้นลง ทางกลับรถ และถนนต่อเชื่อม ส่วนเหนือพื้นดินมีช่องจราจร 1-2 ช่องจราจร ความยาวประมาณ 2,480 เมตร ส่วนที่อยู่บนพื้นดินมีความยาวประมาณ 3,480 เมตร เพื่อให้โครงสร้างบางและเบา จึงได้ออกแบบตัวสะพานเป็นคานคอนกรีตอัดแรงต่อเนื่อง (Continuous Span) รูปกล่องมีปีกยื่น มีทั้งชนิดกล่องเดี่ยวและกล่องคู่ ซึ่งภายในกล่องจะมีการติดตั้งสาธารณูปโภค เช่น สายไฟฟ้า สายโทรศัพท์ และอื่น ๆ เสาของสะพานมีความหนา 65 เซนติเมตร ออกแบบไว้เพื่อลดผลกระทบของแรงจากสะพานที่กระทำต่อเสา ช่วงห่างของเสาสะพานห่างกันตั้งแต่ 20-37 เมตร และมีช่วงรอยต่อของตัวสะพาน (Expansion Joint) ประมาณ 200-240 เมตร เชิงลาดสะพาน ประกอบด้วยโครงสร้างปลายเชิงลาด (Abutment ) ยาว 40-60 เมตร และโครงสร้างปรับระดับการทรุดตัว (Trasition) ยาว 40 เมตร จากพระบรมราโชบายสู่การดำเนินงานสร้างโครงการอย่างจริงจัง ในที่สุดโครงการทั้งหมดได้เสร็จสมบูรณ์และเปิดใช้เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2536 ก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งในแง่ของการหลีกเลี่ยงการเดินทางผ่านใจกลางเมืองที่มีการจราจรคับคั่งและยังช่วยระบายความแออัดของการจราจรใจกลางเมืองสู่บริเวณโดยรอบกรุงเทพมหานคร อีกด้วย«กลับสู่ด้านบน

1. บ่อหมักสิ่งปฏิกูล วัดสวนแก้ว จังหวัดนนทบุรี
ความเป็นมา จากกระแสพระราชดำรัส เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2544 เนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม 2544 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตรัสเกี่ยวกับการจัดการสิ่งปฏิกูลว่า “สิ่งโสโครกจากบ้านเรือนที่ให้เทศบาลสูบไป มักนำไปปล่อยลงคลอง ลงแม่น้ำ ถ้าหาที่แห่งหนึ่งนอกเมือง ทำถังหมักสิ่งโสโครกไว้ 10 วัน สิ่งที่เป็นสิ่งโสโครกก็หายโสโครกเชื้อโรคอะไรก็หมดไป ถ้าให้ดีเอาไว้ 28 วัน ให้มันจริงๆจังๆ พวกเชื้อที่ร้ายแรงที่ยังมีอยู่ก็หมด แม้แต่กลิ่นก็หายหมด เสร็จแล้วเอามาตากใช้ประโยชน์ได้ ทั้งส่วนที่เป็นของแข็งและส่วนที่เป็นน้ำเป็นปุ๋ยที่ไม่เหม็น เทศบาลต่างๆ ที่มีปัญหานี้ก็ต้องพยายามพิจารณาว่าจะทำอะไรต่อไป”จากกระแสพระราชดำรัสดังกล่าวข้างต้น จังหวัดนนทบุรี โดยผู้ว่าราชการจังหวัดในขณะนั้น นายสาโรจน์ คัชมาตย์ จึงได้มีการประชุมร่วมกันระหว่างส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อนำแนวทางตามโครงการ พระราชดำริฯ มาดำเนินการต่อไปด้วยความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและแก้ปัญหาการกำจัดสิ่งปฏิกูลที่ยังไม่ถูก สุขลักษณะอันเป็นสาเหตุ ของปัญหาสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ด้วย สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 6 นนทบุรี ได้รับมอบหมายจากผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรีให้ออกแบบ และควบคุมการก่อสร้างบ่อหมักสิ่งปฏิกูลตามแนวพระราชดำริ ขนาดความจุ 15 ลูกบาศก์เมตร จำนวน 32 บ่อ ณ วัดสวนแก้ว จ. นนทบุรี ซึ่งพระอาจารย์พยอม กัลยาโณ ได้ให้ความอนุเคราะห์พื้นที่ก่อสร้างประมาณ 5 ไร่ ขณะนี้การก่อสร้างได้ดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้ว วัตถุประสงค์ เพื่อกำจัดสิ่งปฏิกูล โดยการหมักด้วยขบวนการไม่ใช้ออกซิเจน ป้องกันการแพร่กระจายเชื้อใน ระบบทางเดินอาหารและพยาธิ แล้วนำผลผลิตที่ได้ไปใช้ทำปุ๋ยสำหรับการเกษตร บ่อหมักสิ่งปฏิกูล บ่อหมักสิ่งปฏิกูล คือ บ่อที่สร้างขึ้นสำหรับกักเก็บสิ่งปฏิกูลจากรถดูดส้วมนำมาใส่ไว้ เพื่อให้เกิด การย่อยสลาย โดยแบคทีเรียตามธรรมชาติ การกำจัดสิ่งปฏิกูลโดยอาศัยขบวนการหมักย่อย สลายในถังปิดโดยไม่ใช้ออกซิเจน (Anaerobic Digestion) ซึ่งเติมครั้งเดียว (Batch Type Culture) ซึ่งเป็นผลการศึกษาวิจัยตามพระราชดำริ เมื่อ พ.ศ. 2523 ที่จังหวัดนนทบุรี โดยมี หน่วยงานสนองพระราชดำริ คือ กรมอนามัย มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และโรงพยาบาลบำราศนราดูร ผลการวิจัยทำให้ได้ระบบบำบัดที่นำไปใช้ปฏิบัติได้อย่างเหมาะสม ถูกลักการสุขาภิบาลและมีผลได้คือ น้ำและกากนำไปใช้เป็นปุ๋ยได้ การก่อสร้างบ่อสิ่งปฏิกูล การก่อสร้างเริ่มดำเนินการในเดือนเมษายน 2545 โดยการปรับพื้นที่สร้างถนน และตอกเสาเข็ม ทำฐานรากบ่อหมักและส่วนประกอบของระบบบำบัดที่สำคัญดังนี้1. ถังหมักย่อยสลาย เป็นถังคอนกรีตเสริมเหล็กจำนวน 32 ถัง แต่ละถังมีความจุประมาณ 15 ลูกบาศก์เมตร เป็นรูปถังสี่เหลี่ยมมีความกว้าง 2.5 เมตร ยาว 4.50 เมตร สูง 1.5 เมตร หนา 0.1 เมตร มีท่อพี.วี.ซี.(PVC) ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4 นิ้ว อยู่ที่ก้นถังด้านข้างเพื่อใช้เป็นท่อระบายน้ำและตะกอนซึ่งมีประตูน้ำเปิด - ปิด บนถังหมักย่อยสลายมีช่องคนลงขนาด0.5 x 0.5 ตารางเมตร พร้อมฝาปิด และมีท่อระบายอากาศ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 นิ้ว สูง 0.30 - 0.50 เมตร2. ลานตากตะกอน เป็นลานสี่เหลี่ยมผืนผ้า ก่ออิฐฉาบปูน ขนาดกว้างประมาณ 5.00 เมตร ยาว 6.70 เมตร สูง1.00 เมตร แบ่งเป็นช่องๆ ขนาด 16 ช่อง ใช้สำหรับตากสิ่งปฏิกูลที่ผ่านการหมักจากถังหมักย่อยสลายแล้ว ภายในลานตากชั้นล่างจะบรรจุหินย่อยให้มีความหนาของชั้นหิน3. บ่อเก็บน้ำ หลังจากปล่อยสิ่งปฏิกูลลงสู่ลานทรายกรอง ส่วนที่เป็นน้ำจะไหลผ่านชั้นทราย และ ไปเก็บรวบรวมไว้ที่บ่อเก็บน้ำ น้ำที่ออกมาจะเป็นปุ๋ยน้ำและสามารถนำไปใช้ ประโยชน์รดน้ำต้นไม้หรือสวนสาธารณะ4. โรงเก็บปุ๋ย หลังจากที่ตากตะกอนที่ลานตากตะกอนจนแห้งแล้ว รวบรวมนำมาเก็บไว้ที่โรงเก็บปุ๋ย เพื่อจะได้นำมาใช้ประโยชน์ต่อไป5. ที่พักคนงาน ไว้สำหรับเป็นที่พักคนงาน ทำความสะอาด และดูแลรักษาระบบบำบัดสิ่งปฏิกูล ให้มีอายุใช้งานได้นาน และมีประสิทธิภาพ ผลที่คาดว่าจะได้รับการกำจัดสิ่งปฏิกูลตามโครงการพระราชดำริฯ มีประโยชน์เป็นอย่างยิ่งเพราะเป็นการกำจัด สิ่งปฏิกูลที่ถูกหลักสุขาภิบาล เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานสาธารณสุขของประเทศ ในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น ซึ่งจะทำให้อัตราการป่วยและพยาธิลำไส้ลดน้อยลง ลดการสูญเสียของประเทศจากการที่รัฐจะต้องใช้จ่ายงบประมาณในการสร้างโรงพยาบาล ดูแลรักษาพยาบาลผู้ป่วยด้วยโรคทางเดินอาหารและโรคพยาธิลำไส้ ผู้ป่วยต้องจ่ายค่ารักษา พยาบาล ต้องหยุดงาน ขาดรายได้ ในทางกลับกันหากประชาชนมีสุขภาพดี จะสามารถประกอบอาชีพมีรายได้ ทำให้เศรษฐกิจของประเทศดีด้วย นอกจากนี้ยังสามารถนำสิ่งปฏิกูลมาใช้เป็นปุ๋ยอินทรีย์ที่ปลอดภัย ทำให้ประเทศสามารถ ประหยัดเงินในการสั่งซื้อปุ๋ยเคมีจากต่างประเทศมาใช้ในประเทศได้จำนวนมาก ส่วนปุ๋ยจากกากสิ่งปฏิกูลที่ผ่านการหมักย่อยสลาย ช่วยทำให้คุณภาพของดินดีขึ้น «กลับสู่ด้านบน

พระอัจฉริยภาพ 12 โครงการของในหลวง

เฉลิมพระเกียรติ “พระบิดาแห่งนวัตกรรมไทย”
1. โครงการแกล้งดิน “ ดินทำงานแล้วดินจะหายโกรธ”หลักการแก้ปัญหาตามแนวพระราชดำริ สามารถสรุปได้ดังนี้
1. แก้ไขโดยวิธีการควบคุมระดับน้ำใต้ดิน
2. แก้ไขโดยใช้วิธีการปรับปรุงดิน เพื่อใช้ทำนาหรือปลูกพืชล้มลุกในฤดูแล้ง
3. การปรับสภาพพื้นที่เพื่อใช้ปลูกไม้ผลหรือพืชล้มลุกพระราชดำริ“โครงการแกล้งดินนี้เป็นเหตุผลอย่างหนึ่งที่พูดมา 3 ปีแล้ว หรือ 4 ปีกว่าแล้ว ต้องการน้ำสำหรับมาให้ดินทำงาน ดินทำงานแล้วดินจะหายโกรธ อันนี้ไม่มีใครเชื่อ แล้วก็มาทำที่นี่แล้วมันได้ผล ดังนั้น ผลงานของเราที่ทำที่นี่เป็นงานสำคัญที่สุด เชื่อว่าชาวต่างประเทศเขามาดูเราทำอย่างนี้แล้วเขาก็พอใจ เขามีปัญหาแล้วเขาก็ไม่ได้แก้ หาตำราไม่ได้...”
2. โครงการฝนหลวง น้ำพระทัยจากฟ้ามาสู่ดินการทำฝนหลวงว่ามี 3 ขั้นตอน คือ
• ขั้นตอนที่ 1 ก่อกวน
• ขั้นตอนที่ 2 เลี้ยงให้อ้วน
• ขั้นตอนที่ 3 โจมตี พระราชดำริ“...ข้าพเจ้าแหงนดูท้องฟ้า และพบว่ามีเมฆเป็นจำนวนมาก แต่เมฆเหล่านั้นพัดผ่านที่แห้งแล้งไป วิธีแก้ไขอยู่ที่ว่าจะทำอย่างไร ที่จะทำให้เมฆเหล่านั้นตกลงมาเป็นฝนในท้องถิ่นนั้น...”
3. โครงการแก้มลิง " แนวทางการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม " ลักษณะและวิธีการของโครงการแก้มลิง
1. ระบายน้ำให้ไหลไปตามคลองในแนวเหนือ-ใต้ลงคลองพักน้ำ
2. ระบายน้ำจากคลองดังกล่าว โดยใช้หลักการทฤษฎีแรงโน้มถ่วงของโลก
3. สูบน้ำออกจากคลองที่ทำหน้าที่ “แก้มลิง” ให้ระบายออกออกสู่ทะเล
4. เมื่อระดับน้ำทะเลสูงกว่าระดับน้ำในลำคลองให้ทำการปิดประตูระบายน้ำ พระราชดำริ “ ...ลิงโดยทั่วไปถ้าเราส่งกล้วยให้กิน ลิงจะรีบ ปอกเปลือก เอาเข้าเข้าปากเคี้ยว แล้วนำไปเก็บไว้ที่แก้ม ลิงจะเอากล้วยเข้าไปไว้ที่กระพุ้งแก้มได้เกือบทั้งหวี โดยเอาไปไว้ที่แก้มก่อน แล้วจึงนำมาเคี้ยวบริโภคแล้วกลืนกินเข้าไปภายหลัง ด้วยพฤติกรรมการนำเอากล้วยหรืออาหารมาสะสมไว้ที่กระพุ้งแก้มก่อนการกลืนนี้ จึงเป็นพฤติกรรมตัวอย่างที่จะนำมาใช้ในการระบายน้ำท่วมออกจากพื้นที่น้ำท่วมขัง บริเวณทิศตะวันออกและตำวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา”
4. กังหันน้ำชัยพัฒนา " เครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำ "กังหันน้ำชัยพัฒนาเป็นเครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่นลอย (สามารถลอยขึ้นได้เองตามระดับน้ำ) ใช้หลักการเติมอากาศหรือออกซิเจน ซึ่งเป็นหัวใจของการบำบัดน้ำเสียพระราชดำริ“...ปัญหาอยู่ที่ว่าการพัฒนาแหล่งน้ำนั้นอาจจะมีผลกระทบกระเทือนต่อสิ่งแวดล้อมบ้าง แต่ถ้าไม่มีการควบคุมน้ำที่ดีพอแล้วเมื่อเกิดภัยธรรมชาติขึ้น ก็จะก่อให้เกิดความเดือดร้อนสูญเสียทั้งในด้านเศรษฐกิจและในชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนทั้งส่งผลกระทบกระเทือน แก่สิ่งแวดล้อมอย่างร้ายแรง...”
5. เครื่องดักหมอก แนวคิดการพัฒนาทรัพยากรแหล่งน้ำในบรรยากาศเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ทางการเกษตรการใช้ประโยชน์จากหมอกที่ล่องลอยในอากาศว่าหมอกสามารถกลายเป็นหยดน้ำหล่อเลี้ยงต้นไม้ได้พระราชดำริ “...แผงดักหมอกนี้สามารถช่วยบังแดดบังลมกับต้นไม้ในระยะเวลาที่เริ่มทำการปลูกต้นไม้ หรือในระยะแรกที่ต้นไม้ หรือในระยะแรกที่เริ่มทำการปลูกต้นไม้ หรือในระยะแรกที่ต้นไม้เริ่มเติบโตขึ้นได้ด้วยส่วนวัสดุที่จะนำมาใช้ในการดักหมอกนี้ ควรจะเป็นวัสดุประเภทที่รูพรุนมากๆ เช่น ตาข่ายไนล่อน ซึ่งจะทำให้เกิดการจับตัวของหยดน้ำได้ดี อีกทั้งการใช้วัสุดที่เป็นเสื่อลำแพน การสานอย่าให้ทึบ ควรสานให้โปร่ง เนื่องจากในอากาศนั้นมีความชื้นอยู่แล้วจะทำให้เกิดการควบแน่นและกลั่นตัวเป็นหยดน้ำได้...”
6. การบำบัดน้ำเสีย (หลักธรรมชาติบำบัด)พระราชดำริ “...ปัญหาสำคัญคือสิ่งแวดล้อม เรื่องน้ำเสียกับขยะ ได้ศึกษามาแล้วเหมือนกัน ทำไม่ยากนักในทางเทคโนโลยี ทำได้แล้วในเมืองไทยเองก็ทำได้ เดี๋ยวนี้กำลังคิดอยู่ว่าทำ แต่ติดอยู่ที่ที่จะทำ...”
7. น้ำดีไล่น้ำเสีย โดยใช้หลักการตามธรรมชาติแห่งแรงโน้มถ่วงของโลก (Gravity Flow)พระราชดำริ"....การจัดระบบควบคุมระดับน้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรุงเทพมหานครนั้น สมควรวางระบบให้ถูกต้องตามสภาพการณ์และลักษณะภูมิประเทศ ซึ่งระบบนี้ควรจะพิจารณาถึงวิธีการระบายน้ำ โดยอาศัยแรงโน้มถ่วงของโลกให้มากที่สุด ...."
8. ปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง พระราชดำริ “...ป่าไม้ที่จะปลูกนั้น สมควรที่จะปลูกแบบป่าใช้ไม้หนึ่ง ป่าสำหรับใช้ผลหนึ่ง ป่าสำหรับใช้เป็นฟืนอย่างหนึ่ง อันนี้แยกออกไปเป็นกว้างๆ ใหญ่ๆ การที่จะปลูกต้นไม้สำหรับได้ประโยชน์...”
9. ฝายชะลอความชุ่มชื้น ผลิกฟื้นผืนป่าให้สมบูรณ์พระราชดำริ “...นี่แหละคือลำห้วยในหน้าฝน เอาวัสดุที่หาได้ง่ายๆ เช่น ดิน หิน ไม้ สร้างฝายเล็กๆ กั้นน้ำไว้ง่ายๆ ทำแบบถูกๆ พอฝนหมด แรกๆ มันก็จะเก็บน้ำ ไว้ได้ อาจจะ 1 อาทิตย์ 2 อาทิตย์ ซึ่งพักหนึ่งๆ ดินโคลนาจะอุดรอยรั่วก้จะเก็บน้ำได้ 3 อาทิตย์ 4 อาทิตย์ เป็นเดือนหลังฝน แล้วป่าก็จะฟื้นขึ้นมาเอง...”
10 . ทฤษฎีใหม่ การบริหารจัดการที่ดินและน้ำเพื่อการเกษตรให้เกิดประโยชน์สูงสุดพระราชดำริ“..... การทำทฤษฎีใหม่นี้มิใช่ของง่ายๆ แล้วแต่ที่ แล้วแต่โอกาส และแล้วแต่งบประมาณ ทฤษฎีใหม่นี้จึงต้องมีพื้นที่ที่เหมาะสมด้วย...”
11. โครงการหญ้าแฝก กำแพงธรรมชาติที่มีชีวิตพระราชดำริ“....ให้ใช้หญ้าแฝกในการพัฒนา ปรับปรุงบำรุงดิน ฟื้นฟูดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ และแก้ปัญหาดินเสื่อมโทรม...”
12. โครงการผลิตพลังงานทดแทนพระราชดำริ “...น้ำมันปาล์มทราบว่าดีเป็นน้ำมันที่ดีใช้งานได้ ใช้บริโภคแบบใช้น้ำมันมาทอดไข่ได้ มาทำครัวได้ เอาน้ำมันปาล์มมาใส่รถดีเซลได้ กำลังของน้ำมันปาล์มนี้ดีมากได้ผล เพราะว่าเมื่อได้มาใส่รถดีเซลไม่ต้องทำอะไรเลย ใส่เข้าไป แล่นไป คนที่แล่นตามบอกว่าหอมดี...”