วันเสาร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

5. โครงการก่อสร้างถนนเลียบรถไฟสายใต้ (สายบางกอกน้อย) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงใช้ช่วงเวลาเสด็จฯ ไปโรงพยาบาลศิริราชเพียงไม่นานได้ทรงงานและทรงศึกษาสภาพพื้นที่บริเวณโดยรอบอย่างละเอียดจึงมีพระราชดำริว่า สามารถขยายแนวถนนเลียบทางรถไฟสายธนบุรี จากช่วงปลายถนนอิสรภาพ ถึงถนนจรัญสนิทวงศ์ ซึ่งสภาพเดิมจากปลายถนนอิสรภาพเข้าไปประมาณ 230 เมตร เป็นถนนคอนกรีต ส่วนที่เหลืออีกประมาณ 380 เมตรเป็นที่ลุ่ม มีบ้านเรือน เพิงพักอาศัย และมีทางเดินตามแนวทางรถไฟ จนถึงถนนจรัญสนิทวงศ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัสถึงแนวพระราชดำริในการตัดถนนสายนี้ตอนหนึ่งว่า “ต่อไป โครงการที่ 3 คือ สร้างทางในที่ที่ยังไม่มีทาง. อันนี้เกิดขึ้นที่ใกล้สถานีบางกอกน้อยระหว่างสถานีบางกอกน้อย คือ ปลายถนนอิสรภาพเชื่อมกับถนนจรัญสนิทวงศ์. ตรงนั้นเป็นที่ของการรถไฟ เป็นที่ลุ่มมีทางเดินเข้าไป ไม่ทะลุแล้วก็ขลุกขลัก. ทางกรงเทพมหานครได้ไปจัดการ. มีบ้านคนที่บุกรุกที่ของรถไฟบ้าง. แต่ก็ได้ย้ายบ้านเหล่านั้น เข้าใจว่าเป็นที่พอใจของผู้บุกรุก ให้ที่เขาอยู่ ไม่เดือดร้อน. ทางกำลังสร้างยังไม่เสร็จ. ต้องถมทรายเดี๋ยวนี้ได้กรุยมาเรียบร้อย เป็นระยะ 600 เมตร ยังไม่ได้มีการถม ยังไม่ครบ. แต่เมื่อครบแล้วก็จะเป็นทางที่จะทะลุ จากถนนอิสรภาพซึ่งต้น. ถนนอิสรภาพนี่ต้องเลี้ยวขวามาเข้าที่ถนนอรุณอมรินทร์. จากตรงนั้นก็สามารถเชื่อมจรัญสนิทวงศ์. เข้าใจว่าจะช่วยการสัญจรขึ้นเล็กน้อย. โครงการนี้ได้ให้เงินส่วนหนึ่ง แต่ว่าไม่พอ ต้องใช้เงินงบของกรุงเทพมหานคร และเงินบริจาคเพิ่มเติม. ราคาก็ไม่ใช่น้อยแต่ก็จะช่วยแก้ปัญหาจราจร.เมื่อกรุงเทพมหานครรับสนองแนวพระราชดำริแล้ว ได้ขออนุญาตใช้ที่ดดินริมทางรถไฟสายธนบุรีในพื้นที่เขตบางกอกน้อย ช่วงปลายถนนอิสรภาพถึงถนนจรัญสนิทวงศ์จากการทางรถไปแห่งประเทศไทย เพื่อก่อสร้างเป็นถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก 2 ช่องจราจร มีระยะทาง 610 เมตร มีเขตทางกว้าง 10 เมตร เริ่มดำเนินการก่อสร้างตั้งแต่วันที่ 19 ตุลาคม 2536 งบประมาณดำเนินการ 16.5 ล้านบาท และได้เปิดการจราจรอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2537 โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานนามถนนสายนี้ว่า “ถนนสุทธาวาส” ตามชื่อวัดที่ตั้งอยู่ในบริเวณดังกล่าว ถนนสุทธาวาส ได้ช่วยบรรเทาปริมาณรถยนต์ที่ผ่านถนนจรัญสนิทวงศ์ บรรจบกับถนนพรานนก(สามแยกไฟฉาย) ให้น้อยลง ซึ่งทำให้การจราจรที่ถนนจรัญสนิทวงศ์คล่องตัวขึ้น นอกจากนี้ ถนนสายนี้ยังเป็นเส้นทางอีกเส้นทางหนึ่งที่จะไปสู่จุดชุมชนในย่านสำคัญๆ เช่น สถานีรถไฟสายธนบุรี โรงพยาบาลศิริราช ตลาดพรานนกได้อีกด้วย «กลับสู่ด้านบน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น