วันเสาร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

4. โครงการพระราชดำริถนนคู่ขนานลอยฟ้า ถนนบรมราชชนนี เนื่องจากปริมาณการจราจรที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะจากเชิงสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้าจนถึงทางแยกสิรินธรทำให้ช่องทางการจราจรที่มีอยู่ 8 ช่องทาง ไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้พื้นที่ถนนที่เพิ่มขึ้น วิธีการแก้ไขปัญหาดังกล่าว จะต้องเพิ่มพื้นผิวการจราจรให้มากขึ้น แต่การเพิ่มพื้นที่ในระดับราบนั้นกระทำได้ยาก เนื่องจากริมถนนทั้งสองด้านเต็มไปด้วย ตึก, อาคาร และสำนักงานต่างๆ มากมาย ดังนั้น วิธีแก้ปัญหาที่เหมาะสมที่สุดคือ การเพิ่มพื้นที่จราจรด้วยการสร้างทางยกระดับขึ้นช่วงหนึ่ง เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการรองรับการจราจรได้มากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน โครงการฯ นี้เป็นโครงการหนึ่งซึ่งสนองพระบรมราโชบาย ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระมหากรุณาคุณให้พสกนิกร เพื่อแก้ไขปัญหาจราจรที่ติดขัด จากเชิงสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้าจนถึงทางแยกสิรินธร ซึ่ง กทม. ได้ดำเนินการตามพระราโชบายโดยรอบคอบและเร่งด่วน เพื่อประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาจราจรในจุดสำคัญอีกจุดหนึ่งตามพระราชประสงค์ ลักษณะโครงการเป็นสะพานยกระดับ สร้างขึ้นเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการรองรับการจราจร จากบริเวณสะพานปิ่นเกล้าจนถึงทางแยกตลิ่งชันถนนบรมราชชนนีทั้งขาเข้าและขาออก และเพื่อแยกการจราจรของยวดยานที่ต้องการเดินทางระยะไกลออกจากยวดยานที่เดินทางในระยะใกล้ ตั้งแต่สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ จนถึงทางแยกตลิ่งชันบนถนนบรมราชชนนี เริ่มที่เกาะกลางจากแยกอรุณอมรินทร์ถึงพุทธมณฑลสาย 2 โดยขาออกจะขึ้นที่แยกอรุณอมรินทร์ ลงได้ 3 จุดที่ตลิ่งชันหน้าหมูบ้านกฤษดานคร และใกล้วงแหวนฉิมพลี ไม่มีทางขึ้นระหว่างทาง ส่วนขาเข้าขึ้นที่ต้นทางก่อนถึงพุทธมณฑลสาย 2 ขึ้นได้ที่หน้าหมู่บ้านกฤษดานครและตลิ่งชัน และจะไม่มีทางลงระหว่างทาง โดยแบ่งความรับผิดชอบการก่อสร้างโครงการฯ เป็น 2 ส่วน คือ
1. โครงการทางคู่ขนานลอยฟ้า ถนนบรมราชชนนี ตอนปิ่นเกล้าทางแยกต่างระดับสิรินธร เริ่มดำเนินการตั้งแต่บริเวณทางแยกอรุณอมรินทร์ ถึงทางแยกต่างระดับสิรินธร ความยาวทั้งสิ้นประมาณ 4,515 กิโลเมตรมอบให้กรุงเทพมหานครรับผิดชอบดำเนินงาน
2. โครงการต่อเนื่องจากทางคู่ขนานลอยฟ้า ถนนบรมราชชนนี ตอนทางแยกต่างระดับสิรินธร – ทางแยกต่างระดับฉิมพลี เริ่มดำเนินการต่อเชื่อมกับโครงการทางคู่ขนานลอยฟ้า ถนนบรมราชชนนีของกรุงเทพมหานคร บริเวณทางแยกต่างระดับสิรินธร และสิ้นสุดโครงการบริเวณเลยจุดข้ามทางแยกพุทธมณฑลสาย 2 ไปประมาณ 500 เมตร ความยาวทั้งสิ้นประมาณ 9,363 กิโลเมตรมอบให้กรมทางหลวงรับผิดชอบดำเนินการ
ลักษณะโครงการฯ ในช่วงที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรุงเทพมหานคร เป็นทางยกระดับโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก และคอนกรีตอัดแรง บนถนนบรมราชชนนี สูงเหนือผิวจราจรเดิมประมาณ 12.00 เมตร กว้าง 19.45 เมตร มีช่องทางจราจร 4 ช่องทาง ช่องทางละ 3.50 เมตร ไหล่ทางข้างละ 1.25 เมตร แบ่งเป็นช่องทางขาออก 2 ช่องทาง และช่องทางขาเข้า 2 ช่องทาง พื้นผิวจราจรคอนกรีตเสริมเหล็กและปูทับหน้าด้วยแอสฟัลท์ผสมร้อนหนา 5 เซนติเมตร พร้อมเกาะกลางเพื่อแยกทิศทางการจราจรรวมทั้งงานติดตั้งไฟฟ้าแสงสว่างบนทางยกระดับ และระบบระบายน้ำ งานปรับปรุงพื้นผิวจราจรเดิม งานภูมิสถาปัตย์ และติดตั้งเครื่องหมายจราจรระยะทางรวม 4,515 กิโลเมตร «กลับสู่ด้านบน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น